วัดไชยภูมิธาราม
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๔๙ หมู่ ๒ ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำบางปะกง เลขที่ ๔๙ หมู่ ๒ ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองมาทางทิศใต้ของจังหวัดมีระยะห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร มีระยะห่างประมาณ ๗ กิโลเมตร เดิมชื่อวัดท่าอิฐ
วัดท่าอิฐนี้เป็นที่ค้าขายของพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งในอดีตนั้นได้นำเอาอิฐมอญมาทำการค้าขายและที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งขายอิฐที่ใหม่แห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราและแถวลุ่มน้ำบางปะกง
และต่อมาที่ตรงนี้ก็เป็นท่าเทียบเรือของพวกแม่ค้าและได้นำอิฐใส่เรือมาพักเพื่อรอพ่อค้าแม่ค้า และต่อมาที่นำมาพักเพื่อขายก็หมดลงพ่อค้าแม่ค้าทำเองขายเองใช้เอง ณ.วัดท่าอิฐต่อมามีชาวบ้านหลายท้องถิ้นได้อพยพพากันมาตั้งสร้างเรือนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงนี้เป็นจำนวนมากตลอดแถวลุ่มแม่น้ำบางปะกง และบริเวณ วัดท่าอิฐนี้มีอยู่ ๖ หมู่บ้าน หมู่บ้านท่าอิฐ หมู่บ้านนาลำแพน หมู่บ้านหัวแหลม หมู่บ้านวนบางเสา หมู่บ้านหัวดง หมู่บ้านคลองบางเฟื้อ
ต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อวัดให้ใหม่ว่าวัดไชยภูมิธารามเพราะแถบนี้เป็นพื้นที่ราบลุ่มชาวบ้านอาชีพ ทำนา มาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันนี้อาชีพทำนานั้นก็หมดลงไป เพราะเหตุปัจจัยในการพัฒนาไปตามสมัยจึงหันมาทำอาชีพประมงเช่นทำการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาและค้าขายและในปัจจุบันนี้มีประชากรอยู่ประมาณ ๕๐๐ กว่าหลังคาเรื่อน เดิมชื่อวัดท่าอิฐ เริ่มก่อสร้างเมื่อใดสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่มีหลักฐานชิ้นหนึ่ง ซึ่งทางคณะสงฆ์พร้อมกับคณะกรรมการวัดได้พบหลักฐานชิ้นหนึ่งอยู่ในพระอุโบสถของวัดท่าอิฐและได้ทำการถอดข้อความ ซึ่งเป็นภาษาไทยที่เก่าแก่ปรากฏดังนี้
เมื่อปีพุทธศักราช พ.ศ.๒๔๒๗ ปีระกา เป็นวันศุกร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๗ ทางคณะสงฆ์ของทางวัดท่าอิฐและชาวบ้านได้พร้อมใจกันยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ซึ่งในขณะนั้นได้มีโยมชื่อคุณตารื่น ยายเอี่ยม เป็นผู้จัดแจงกระทำการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมโบสถ์เก่าให้มีความกว้าง-ความยาวมากขึ้นออกไปอีกคิดเป็นค่าใช่จ่ายทั้งสิ้น ๒๓ ชั่ง ๖ ตำลึง ๒ บาท และได้มีชาวมอญซึ่งขายอิฐอยู่ได้รวบรวมเงินได้มาอีก ๒ ชั้ง ๑๐ ตำลึง ชาวมอญดังกล่าวซึ่งมีนามว่า ทะขิ่นเยีย และได้ทำการสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๔๓๐ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนซึ่งหลักฐานที่ปรากฏอยู่นี้เป็นของเก่าซึ่งมีอยู่ในพระอุโบสถ หลักฐานคือไม่จำหลัก ซึ่งเป็นไม้สักแกะ ตังหนังสือโบราณนี้ แปลโดยอาจารย์วรชัย วิริยารมณ์ ซึ่งจบจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปกร ในสมัยนั้น เริ่มก่อร่างสร้างวัด
เริ่มตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๐ และต่อมาได้สร้างอุโบสถหลังใหม่พร้อมกับได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ ได้อยู่ภายใต้การดูแลและการปกครองทางคณะสงฆ์โดยมีท่านเจ้าคณะตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน และสักกัดสงฆ์มหานิกาย